top of page
  • sgechemth

ทำไม สาหร่ายแดงถึงเป็นที่นิยมในอาหารเสริม



สาหร่ายทะเล (Seaweeds) เป็นพืชชั้นต่ำ ไม่มีระบบท่อลำเลียงอาหารจากรากสู่ลำต้นและใบแบบพืชชั้นสูงเช่นหญ้าทะเล แต่จะใช้วิธีดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากน้ำทะเลสู่เซลล์ต่าง ๆ โดยตรง พืชกลุ่มนี้ไม่มีดอกและผล แต่แพร่กระจายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์และแบ่งตัว สาหร่ายทะเล แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามโครงสร้างและสีของสารสังเคราะห์แสงได้เป็น 4 กลุ่ม คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae) สาหร่ายสีเขียว (green algae) สาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) สาหร่ายสีแดง (red algae) สาหร่ายสีแดงมีวิวัฒนาการแตกต่างจากสาหร่ายอื่นๆ ที่ไม่มีระยะที่มี flagella เลยในวัฏจักรของฃีวิต ที่เรียกว่าสาหร่ายสีแดงก็เนื่องจาก มี accessory pigments สีแดงที่ชื่อ phycoerythrin ซึ่งเป็นสารในกลุ่มเดียวกับที่พบในสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว หรือ cyanobacteria ที่ชื่อ phycocyanin ที่มีสีน้ำเงินซึ่งเชื่อว่า plastids ของสาหร่ายสีแดง เกิดจาก primary endosymbiosis กับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินแม้ว่าจะได้ชื่อว่า สาหร่ายสีแดง แต่ Rhodophyta ไม่ทุกชนิดที่มีสีแดง ในที่ลึกๆ จะมีสีดำหรือเกือบดำ สีแดงสดที่ความลึกปานกลาง และในที่น้ำตื้นจะมีสีเขียว เนื่องจากมี phycoerytrin น้อยสาหร่ายสีแดงจะมีอยู่อย่างมากมายตามชายฝั่งทะเลเขตร้อนของโลกแต่ก็มีบางชนิด อยู่ในน้ำจืดสาหร่ายสีแดงส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่มีหลายเซลล์ แต่ขนาดจะไม่ใหญ่เท่าสาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดงหลายชนิดจะเป็นเส้นยาวๆ แบบ filaments ที่แตกกิ่งก้านสาขา ส่วนฐานจะเป็น holdfast ที่ยึดเกาะกับวัตถุใต้น้ำวัฏจักรชีวิตของสาหร่ายสีแดงชนิดต่างๆ จะแปรผันต่างกันออกไป แต่ลักษณะร่วมกันก็คือ เซลล์สืบพันธุ์ไม่มี flagella และอาศัยกระแสน้ำเป็นตัวพาไป ให้เกิดการปฏิสนธิ


สาหร่ายสีแดง คือ อะไร


สาหร่ายแดง เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส (Haematococcus pluvialis) มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เช่น ประเทศสวีเดน ความพิเศษของมันที่เหนือกว่าสาหร่ายอื่น ๆ คือ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดอาหารและน้ำ เผชิญกับแสงแดด ความร้อนหรือความหนาวเย็นที่มากเกินปกติ จะปรับกลไกการทำงานของเซลล์ให้ผลิตสารสีแดง ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีชื่อว่า “แอสตาแซนธิน” ขึ้นมาเก็บสะสมไว้ เป็นเสมือนเกราะที่ทำหน้าที่ปกป้องนิวเคลียสของเซลล์จากภาวะขาดน้ำและอาหารที่เกิดขึ้น ทำให้มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ แม้จะอยู่ในสภาวะขาดน้ำและอาหารนานถึงกว่า 20 ปี


ด้วยคุณสมบัตินี้เอง ทำให้สาหร่ายแดงกลายเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการนำสารแอสตาเธชินจากสาหร่ายแดง มาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์และแวดวงอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน


แอสตาเเซนธิน ในสาหร่ายแดง มีประโยชน์อย่างไร


แอสตาแซนธิน ในสาหร่ายแดง จัดเป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) มีประโยชน์มากในฐานะสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ถึงกับมีฉายาว่าเป็นราชาในสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ เพราะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารชนิดอื่น ๆ เช่น สูงกว่า โคเอนไซม์ คิวเทน 800 เท่า คาทีซิน (สารสกัดจากชาเขียว) 560 เท่า วิตามิน C 6,000 เท่า วิตามิน E 550 เท่า และเบต้าแคโรทีน 40 เท่า


นั่นจึงทำให้ แอสตาแซนธิน ถูกนำไปใช้ในงานวิจัยมากมาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของมนุษย์ โดยเบื้องต้นพบว่าสามารถรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ป้องกันการอักเสบของกล้ามเนื้อ จากการออกกำลังกาย ป้องกันและเสริมความแข็งแกร่งให้กับไขข้อกระดูก รักษาอาการอ่อนล้าของดวงตา ตลอดจนเสริมสมรรถภาพของเชื้ออสุจิให้แข็งแรง โดยงานวิจัยต่าง ๆ แม้จะมีผลการทดลองออกมาอยู่บ้าง แต่ก็ยังมีจำนวนน้อย ยังคงเห็นผลได้ไม่แน่ชัด จึงยังคงต้องทำการศึกษาและทดลองต่อไป เพื่อยืนยันผลงานวิจัย ให้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น


สาหร่ายแดง กับประโยชน์ในการบำรุงผิว


เมื่อศึกษาถึงประโยชน์ในการรักษาโรคและอาการต่าง ๆ ก็มาถึงการศึกษาค้นคว้า ในการนำสาหร่ายแดง มาใช้ในการบำรุงผิวกันบ้าง ซึ่งเมื่อสกัดเอาสารแอสตาแซนธินมาใช้งาน พบว่า สามารถช่วยฟื้นฟูบำรุงผิวได้ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ลดเลือนริ้วรอย

จากงานวิจัยต่างประเทศ 2 ครั้ง ในปี 2002 และ 2006 ในกลุ่มทดลองผู้หญิง ที่มีอายุระหว่าง 40 และ 47 ปี พบว่า เมื่อให้กลุ่มทดลองอายุ 40 ปี รับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัมคู่กับวิตามินอี 40 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ กับกลุ่มอายุ 47 ปี รับประทานแอสตาแซนธิน 2 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ พวกเธอต่างรู้สึกว่าสุขภาพผิวดีขึ้น ความแห้งและหยาบกระด้างของผิวลดลง ผิวมีความชุ่มชื้น ยืดหยุ่นมากขึ้น ริ้วรอยบนใบหน้าก็ดูลดลง นั่นจึงแสดงว่า แอสตาแซนธินมีประสิทธิภาพในการบำรุงผิว ไม่ว่าจะกินเดี่ยว หรือ กินคู่กับวิตามินที่มีฤทธิ์ในการบำรุงผิวเช่นเดียวกันก็ตาม

  • ปกป้องผิวจากแสงแดด

รังสี UV ในแสงแดด คือตัวการหนึ่งที่ทำให้ผิวหนังของเราแห้งเสีย และทำให้เซลล์ผิวเสื่อมไว ในปี 2010 จึงมีการศึกษาผลของแอสตาแซนธินต่อฤทธิ์ในการปกป้องรังสียูวีเอ (UVA) โดยใช้การเลี้ยงไฟโบรบลาสท์ (fibroblast) ในเซลล์ผิวหนังมนุษย์ แล้วนำไฟโบรบลาสท์ไปผ่านรังสียูวีเอที่มีความเข้มข้น 10 J/cm2 เป็นเวลา 6-24 ชั่วโมง และใช้แอสตาแซนธินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าแอสตาแซนธินสามารถช่วยยับยั้งผลของรังสียูวีเอที่ทำให้เกิดการออกซิไดซ์ จึงกล่าวได้ว่าแอสตาแซนธินสามารถต้านรังสียูวีเอ ที่มีผลทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิว ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ป้องกันการเกิดรอยเหี่ยวย่นและริ้วรอยได้


ข้อควรระวังในการรับประทานสาหร่ายแดง


จากงานวิจัยต่าง ๆ ที่ค้นพบถึงประโยชน์ของสาหร่ายแดง ทำให้มันมักถูกนำมาผลิตในรูปแบบของอาหารเสริม จนหารับประทานได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะในรูปของสาหร่ายแดงเองเลย หรือนำมาสกัดในรูปแบบของสารแอสตาแซนธินเข้มข้น อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการรับประทานบางอย่าง เช่น


รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน ควรบริโภคเพื่อให้ได้รับ แอสตาแซนธิน ประมาณ 4 – 12 มิลลิกรัม หากรับประทานมากเกินไป จนได้รับวันละ 48 มิลลิกรัมทุกวัน อาจจะทำให้มีอุจจาระสีแดงได้


บริโภคอาหารที่มีไขมันควบคู่ไปด้วย

เพราะแอสตาแซนธินในสาหร่ายแดง จัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ที่ละลายได้ดีในน้ำมัน จึงควรมีการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันด้วย เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น


ห้ามสตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีโรคบางชนิดรับประทาน

ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของ Astaxanthin ในสตรีตั้งครรภ์หรือสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีผลการวิจัยรับรอง ถึงการนำไปใช้อย่างปลอดภัย รวมถึงผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ภาวะกระดูกพรุน แคลเซียมต่ำ ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ผิดปกติ ฮอร์โมนผิดปกติ หรือภาวะความดันโลหิตผิดปกติ ด้วย


แนะนำโรงงงาน SGECHEM รับผลิตครีม อันดับ 1 ของไทย ที่ผลิตให้แบรนด์มาแล้ว 1000 กว่าแบรนด์ ที่มีมาตรฐาน ทุกขั้นตอนการ รับผลิตครีม โดยจะมีทีมงานดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านดูแลโดยเฉพาะ





3 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page